เครื่องชั่งแบบเข็มกับแบบดิจิตอล
พอพูดถึงเครื่องชั่ง เด็กๆที่เติบโตมาในยุคก่อนปี 2000 คงคุ้นชินกับเครื่องชั่งน้ำหนักแบบเข็มในโรงเรียน หรือไม่ก็เครื่องชั่งสปริงแบบเข็มทั่วไป เราอาจจะรู้้จักกันดี นั่นก็คือ เครื่องชั่งที่เมื่อวางของลงในตาชั่งแล้วน้ำหนักก็จะลงมาที่เข็ม ใช้ชั่งเนื้อสัตว์, ชั่งผักในตลาดสด เป็นเครื่องชั่งที่คงอยู่คู่ความเป็นไทยมาอย่างยาวนาน มีการใช้งานมารุ่นต่อรุ่นตั้งแต่รุ่นปู่ย่า ตา ยาย และเป็นที่นิยมทั่วไปในกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า เนื่องจากมีราคาไม่สูงมาก อีกทั้งยังหาซื้อได้ง่ายทั่วไปตามท้องตลาด
อ่านต่อเครื่องชั่ง แบบเข็ม เป็นที่รู้กันดีว่าราคาถูกกว่าเครื่องชั่งดิจิตอล กว่า 2 เท่า ราคาเริ่มต้นประมาณ 900กว่าบาท ซึ่งแม่ค้า พ่อค้าตลาดสดนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เครื่องชั่งสปริง คือเครื่องชั่งเพื่อใช้ชั่งสินค้าที่มีราคาไม่สูงมากนัก และจะใช้ชั่งสินค้าน้ำหนัก 3 กิโลกรัม , 7 กิโลกรัม , 15 กิโลกรัม , 20 กิโลกรัม , 35 กิโลกรัม และ 60 กิโลกรัมแม้แต่ในปัจจุบันก็ยังเห็นใช้กันอยู่ เหตุผลที่พ่อค้าแม่ค้ายังคงเลือกใช้เครื่องชั่งแบบธรรมดานั้นก็เพราะการชั่งตามตลาดนั้นของแต่ละอย่างก็ต้องมีความเปียกแฉะอยู่พอสมควร มีความเกรงว่าหากใช้แบบเครื่องดิจิตอลนั้นจะทำให้ดูแลรักษายากหรืออาจจะพังง่าย ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ปัจจุบันเครื่องชั่งดิจิตอล ที่ถูกสร้างจากสแตนเลส สามารถทนทานต่อความเปียกแฉะและไม่เป็นสนิม มีการดูแลรักษาที่ง่าย และไม่ยุ่งยาก แต่ทว่า ก็มีราคาที่สูงมากด้วย จึงทำให้เครื่องชั่งแบบเข็มธรรมดานั้นยังใช้งานกันอยู่สำหรับแม่ค้าพ่อค้าตามตลาดนั้นเอง
ลักษณะการทำงานจะใช้สปริงในการรับน้ำหนักมีหน้าปัด 2 ด้าน เพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายได้ดูผลการชั่งน้ำหนักสินค้าพร้อมๆกัน โดยเครื่องชั่งจะต้องมีเครื่องหมายเฉพาะตัวของผู้ผลิตและเลขลำดับประจำเครื่องแสดงไว้ที่หน้าปัดทั้งสองด้านและที่ถาดชั่ง
โดยทั้ง 3 แห่งต้องแสดงตรงกัน และที่หน้าปัดทั้งสองด้านกับฝาทั้งสองข้างจะมีหมุดทำด้วยตะกั่ว ซึ่งได้ถูกประทับเครื่องหมายคำรับรองรูปตราครุฑ จากสำนักชั่งตวงวัด กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์ เพื่อป้องกันการแก้ไขน้ำหนักที่ไม่ถูกต้อง
ปัจจุบัน เทคโนโลยีได้ก้าวหน้าไปมากขึ้น ผู้คนได้หันมาใช้สิ่งประดิษฐ์ที่สามารถทำให้ใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น เครื่องชั่งก็เช่นกัน เครื่องชั่งแบบเข็ม ถูกแทนที่ด้วย เครื่องชั่งในระบบดิจิตอล มีการใช้ที่แพร่หลายในยุคปัจจุบัน มีความแม่นยำมากกว่าเครื่องชั่งสปริงแบบเข็ม และเครื่องชั่งดิจิตอลนั้น ยังสามารถบอกค่าตัวเลขเป็นจุดทศนิยม ที่ละเอียดมากกว่าเครื่องชั่งแบบเข็ม อีกทั้งได้มีการนำหลักการคำนวณ เข้ามาใส่ในเครื่องชั่ง ทำให้สามารถชั่งน้ำหนัก และบอกราคาได้ด้วยการตั้งค่าแค่เพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังสามารถลบค่าน้ำหนัก จากภาชนะ ทำให้เหลือเป็น 0 ก่อนการชั่งน้ำหนักแต่ละครั้งได้
เครื่องชั่งน้ำหนักคำนวณราคาบางรุ่น ยังสามารถปริ๊นสติกเกอร์ราคาแบบดิจิตอลออกมาได้ด้วย ยกตัวอย่างเช่นเครื่องชั่ง ยี่ห้อ CAS รุ่น CL5200P เครื่องชั่งทำบาร์โค้ด 30 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่า เป็นเครื่องชั่ง ที่มีหน้าตาเหมือนกับเครื่องชั่งที่ใช้ในซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป มีความแม่นยำสูง และมีมาตรฐานรับรอง
ซึ่งแตกต่างจากเครื่องชั่งแบบเข็ม ที่พอเราวางอะไรลงไป มันก็จะคิดค่าน้ำหนัก รวมไปด้วยไม่สามารถลบค่าน้ำหนักภาชนะ อีกทั้ง ความแม่นยำยังไม่มีมากเท่ากับเครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิตอล
แต่บางครั้งกลับต้องแลกมาด้วยความไม่แม่นยำ น้ำหนักขาด หรือเกิน ไม่มีความมั่นคงเท่าที่ควร บางครั้งต้องปัดน้ำหนักลงไปอีกเพื่อเอาใจลูกค้าก็มี หรือแค่ชั่งผิดพลาดนิดเดียวก็สามารถทำให้เราขาดทุน หรือขาดรายได้ในส่วนที่น่าจะเป็นกำไรได้ อาจจะไม่มาก แต่พอ รวมกันหลายๆวันแล้ว ก็จะทำให้เรารู้สึกขาดกำไรไปมากอยู่พอสมควรมันจะดีกว่าไหม หากว่า ลองปรับเปลี่ยนวิธีและมุมมอง ยอมเสียเงินมากหน่อย เพิ่มขึ้นมาอีกนิด เพื่อซื้อเครื่องชั่งที่ได้มาตรฐาน และ แม่นยำกว่า อีกทั้งยังสามารถคำนวณราคาให้เสร็จสรรพ ไม่ต้องมานั่งคิดให้ปวดหัว ยกตัวอย่างเครื่องชั่ง DYNAWEIGHT รุ่น DW 100-LCD จานกลม ที่มีราคาไม่แพงมาก เมื่อเทียบกับ เครื่องชั่งน้ำหนักคำนวณราคารุ่นอื่นๆ
การเลือกซื้อเครื่องชั่ง สิ่งที่ควรต้องคำนึงถึงคือการใช้งานจริงว่าต้องการเครื่องชั่ง ไปใช้งานในรูปแบบใด และมีจุดประสงค์อย่างไร โดยคำนึงถึง
- งบประมาณและความคุ้มค่า เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด และเพื่อไม่ให้เป็นการใช้จ่ายเกินความจำเป็น ควรเลือกเครื่องชั่งคำนวณราคาให้ตรงกับลักษณะการใช้งาน ตามงบประมาณที่มี การใช้งานควรจะเหมาะสมกับการนำไปใช้จริง ควรเลือกให้ได้ตามที่ต้องการจะใช้งาน ไม่ควรรีบซื้อเพราะราคาถูกใจเพียงอย่างเดียวแต่ใช้งานแบบอื่นๆไม่ได้นอกจากชั่งอย่างเดียว เช่น การหักน้ำหนัก ชั่งนับจำนวน…
- ที่มาหรือแหล่งผลิต ก่อนทำการตัดสินใจเลือกซื้อ ควรศึกษาข้อมูลว่า เครื่องชั่ง ชนิดนั้นๆ เป็นเครื่องชั่งที่ผลิตในประเทศ หรือเป็นสินค้านำเข้า ถ้าหากว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ จะมีเพียงไม่กี่แบรนด์เท่านั้น ส่วนมากจะเป็นสินค้านำเข้าเป็นส่วนใหญ่ มีทั้งจากยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จีน มาเลเซีย ซึ่งในส่วนของนำเข้าจากจีนเองก็มีหลายเกรด ตั้งแต่ เกรดดี ไปจนถึงเกรดต่ำ ขึ้นอยู่กับ รุ่น และแบรนด์ที่เลือก
- องค์ประกอบและโครงสร้าง ควรคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมที่จะใช้เครื่องชั่งและลักษณะการชั่ง เช่นในตลาดสด อาจจะมีความชื้นจากเนื้อสัตว์ และความชื้นจากน้ำที่ไหลออกมาจากเนื้อสัตว์ ควรจะเลือกใช้เครื่องชั่งที่มีโครงสร้างเป็นสแตนเลส มากกว่าเป็นเหล็ก เพราะจะทำให้ขึ้นสนิมได้ง่าย และต้องมีการเช็ดทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เครื่องชั่งสามารถมีอายุการใช้งานได้ยาวนานขึ้นและ ความแม่นยำ เช็คส่วนประกอบเช่น แจ็คอะแด็ปเตอร์,แบตเตอรี่ ว่าสามารถาซื้อเปลี่ยนได้ง่ายหรือไม่ มีขายตามท้องตลาดหรือเปล่า เพราะเมื่อเวลาแบตเตอรี่เสื่อม อาจจะทำให้เกิดการขาดแคลนอุปกรณ์ได้
- บริการ บริการหลังการขายเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรเลือกผู้จัดจำหน่ายที่มีบริการแบบครบวงจร เพราะเครื่องชั่งไม่ใช่เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วไปที่ซื้อ-ใช้-พัง-ซื้อใหม่ เราจำเป็นต้อง มีการบำรุงรักษาทั้งนี้เพราะมันเป็นเครื่องมือที่มีผลต่อกำไร-ขาดทุน ผู้ขายต้องมีความรู้ ต้องสามารถ ให้คำปรึกษาเราได้เพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น มีบริการซ่อม สอบเทียบ เปลี่ยนอะไหล่ เป็นต้น คงไม่ดีแน่ถ้าหากเราจำเป็นต้องใช้เครื่องชั่งแต่พอโทรเข้าร้านที่ซื้อปรากฎว่าให้นำเครื่องมาตรวจเช็ดอย่างเดียว ไม่มีการแนะนำการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเลย ทั้งๆที่บางครั้งอาการเสียอาจจะสามารถแก้ไขได้โดยตัวผู้ใช้งานเองก็ได้ เพราะความเสียหายของเครื่องชั่งไม่เท่ากับความเสียโอกาสในทางธุรกิจ
- มาตรฐาน ควรมองหามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องชั่ง เช่นมาตรฐานความเที่ยงตรง การตรวจรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ หรือได้รับการสอบเทียบตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการสอบเทียบ 17025 เป็นต้น