ประวัติความเป็นมาของเครื่องชั่งตั้งแต่สมัยโบราณ
ประวัติความเป็นมาของเครื่องชั่งตั้งแต่สมัยโบราณ
เครื่องชั่งหรือตาชั่ง ถูกคิดค้นเมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อน โดยชาวสุเมเรียนและชาวจีน จากนั้นได้แพร่เข้ามาในประเทศไทย มีด้วยกันอยู่ 2 แบบ เรียกว่า ตราชูกับตาเต็ง
อ่านต่อ
ตาชู มาจากภาษาทมิฬว่า “ตราจุ” คนไทยออกเสียงเป็น ตราชู คือเครื่องมือชั่งมีทั้งชนิดจานเดียวและสองจาน ที่ถูกคิดค้นขึ้นในดินแดนเมโสโปเตเมียโดยชาวสุเมเรียน และถูกใช้กระจายอย่างแพร่หลายในกลุ่มพ่อค้านักเดินเรือโดยรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณอนาโตเลีย ซึ่งปัจจุบันคือประเทศตุรกี จากนั้นได้ถูกกระจายไปยังชาวกรีกและโรมัน ทำให้ชนชาติต่างๆ ทั้งทวีปยุโรปและเอเชียไมเนอร์ที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของโรมันได้รับอิทธิพลไปด้วย จนเข้ามาสู่ประเทศอินเดียในที่สุด ตาชู ตาเต็ง คือเครื่องมือชั่งของประเทศจีน เข้าสู่ประเทศไทยโดยเรือสำเภาของพ่อค้าชาวจีนที่ได้เข้ามาทำการค้าขายกับชนชาติต่างๆ เป็นตาชั่งชนิดจานเดียวรูปร่างเป็นคันยาวมีลูกชั่งติดอยู่กับคันมีรอยขีดบอกอัตราน้ำหนัก สำหรับวางวัตถุที่ต้องการทราบน้ำหนัก ซึ่งเป็นด้านเดียวกับจุดศูนย์กลางความสมดุล และใช้เป็นที่จับตาเต็งด้วย เมื่อวางน้ำหนักลงไปบนจานด้านซ้ายแล้วจึงเลื่อนลูกชั่ง ไปทางขวา จนถึงจุดสมดุลที่ก้านไม่เอียง ก็จะทราบน้ำหนักของวัตถุจากขีดบอกน้ำหนักที่ลูกชั่ง ไปหยุดอยู่ ตาเต็งเป็นขนาดเล็กความยาวของก้านไม่ถึงฟุต มีไว้ชั่งสิ่งของน้ำหนักไม่ถึงตำลึง เช่น เงิน ทอง ยาสมุนไพร เป็นต้น ตาเต็ง